เมนู

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกรรมฐานแก่พวกภิกษุ]


หลายบทว่า อเนกปริยาเยน อสุภกถํ กเถติ มีความว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงแสดงกถาเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่ายในกาย ซึ่งเป็นไปด้วย
อำนาจแห่งความเล็งเห็นอาการอันไม่งาม ด้วยเหตุมากมาย. ทรงแดงอย่างไร?
ทรงแสดงว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน ฯ มูตร. มีคำอธิบายอย่างไร ?
มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางคน เมื่อค้นหาดูแม้ด้วยความ
เอาใจใส่ทุกอย่างในกเลวระมีประมาณวาหนึ่ง จะไม่เห็นสิ่งอะไร ๆ จะเป็น
แก้วมุกดาหรือแก้วมณี แก้วไพฑูรย์หรือกฤษณา แก่นจันทน์หรือกำยาน
การบูรหรือบรรดาเครื่องหอมมีจุณสำหรับอบเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที
ซึ่งเป็นของสะอาด แม้มาตรว่าน้อย; โดยที่แท้ จะเห็นแต่ของไม่สะอาดมีประการ
ต่าง ๆ มีผมและขนเป็นต้นเท่านั้น ซึ่งมีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง น่าเกลียด มีการ
เห็นไม่เป็นมิ่งขวัญ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรทำความพอใจ หรือความรัก
ใคร่ในกายนี้ อันที่จริง ขึ้นชื่อว่าผมเหล่าใด ซึ่งเกิดบนศีรษะ อันเป็นอวัยวะ
สูงสุด แม้ผมเหล่านั้น ก็เป็นของไม่งามเหมือนกัน ทั้งไม่สะอาด ทั้งเป็น
ของปฏิกูล ก็แล ข้อที่ผมเหล่านั้นเป็นของไม่งาม ไม่สะอาดและเป็นของ
ปฏิกูลนั้น พึงทราบโดยเหตุ 5 อย่าง คือ โดยสีบ้าง โดยสัณฐานบ้าง โดย
กลิ่นบ้าง โดยที่อยู่บ้าง โดยโอกาสบ้าง; ข้อที่ส่วนทั้งหลายมีขนเป็นต้น
เป็นของไม่งาม ไม่สะอาด และเป็นของปฏิกูลก็พึงทราบด้วยอาการอย่างนี้แล.
ความสังเขปในอธิการแห่งตติยปาราชิกนี้มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
อสุภกถาในส่วนอันหนึ่ง ๆ โดยอเนกปริยาย มีประเภทส่วนละ 5 ๆ ด้วย
ประการฉะนี้.

ข้อว่า อสุภาย วณฺณํ ภาสติ มีความว่า พระองค์ทรงตั้ง
อสุภมาติกา ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงจำแนก
คือทรงพรรณนา สังวรรณนา อสุภมาติกานั้น ด้วยบทภาชนีย์ จึงตรัสคุณา-
นิสงส์แห่งอสุภะ.
ข้อว่า อสุภภาวนาย วณฺณํ ภาสติมีความว่า ความอบรมคือ
ความเจริญ ความเพิ่มเติมจิต ที่ถือเอาอากากรอันไม่งาม ในส่วนทั้งหลายมีผม
เป็นต้น หรือในอสุภะมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น หรือในวัตถุภายในและภายนอก
ทั้งหลาย เป็นไป นี้ใด ; พระองค์จะทรงแสดงอานิสงส์แห่งอสุภภาวนานั้น
จึงตรัสสรรเสริญ คือทรงประกาศคุณ. ตรัสอย่างไรเล่า ? ตรัสว่า ดุก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบเฉพาะซึ่งอสุภภาวนา ในวัตถุมีผมเป็นต้น หรือ
ในวัตถุมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น ย่อมได้เฉพาะซึ่งปฐมฌาน อันละองค์ 5
ประกอบด้วยองค์ 5 มีความงาม 3 อย่าง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10 ภิกษุ
นั้น อาศัยหีบใจ กล่าวคือปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนา ย่อมบรรลุพระอรหัต
ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุด.

[ปฐมฌานมีลักษณะ 10 และความงาม 3]


บรรดาความงาม 3 และลักษณะ 10 เหล่านั้น ลักษณะ 10 แห่ง
ปฐมฌานเหล่านี้ คือ ความหมดจดแห่งจิตจากธรรมที่เป็นอันตราย 1 ความ
ปฏิบัติสมาธินิมิอันเป็นท่ามกลาง 1 ความแล่นไปแห่งจิตในสมาธินิมิตนั้น 1
ความเพิกเฉยแห่งจิตที่หมดจด 1 ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ดำเนินถึงความสงบ 1
ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียว 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถ
คือความไม่กลับกลายแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในฌานจิตนั้น 1 ความผุดผ่องด้วย
อรรถคือความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอันเคียวกัน 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถ